Carbon Footprint คืออะไร?
Carbon Footprint คือ ตัวชี้วัดประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยจากกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กร ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การใช้งาน ไปจนถึงการกำจัดซากผลิตภัณฑ์หลังหมดอายุการใช้งาน โดยจะถูกคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e)
สนใจบริการกำจัดของเสีย น้ำมัน กากอุตสาหกรรมฯ ต้องการออดิทโรงงาน ยินดีให้คำปรึกษา
โทร 020266547 สอบถามผ่าน Line : @SSCOILCarbon Footprint มีกี่ประเภท?
โดยคำจำกัดความเรียกว่า “Carbon Footprint” สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Carbon Footprint of Organization หรือ CFO
หมายถึง ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย การขนส่ง และการใช้เชื้อเพลิงภายในองค์กร โดยแสดงผลในเชิงปริมาณตัน หรือกิโลกรัมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) สำหรับ Carbon Footprint ขององค์กรสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1.1 Scope 1 หมายถึง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากกิจกรรมขององค์กร
เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต การปล่อยก๊าซมีเทนจากกระบวนการผลิต
1.2 Scope 2 หมายถึง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้าและความร้อนที่ซื้อจากภายนอก
เช่น การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า พลังงานความร้อนและพลังงานไอน้ำ การซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมาใช้ภายในองค์กร
1.3 Scope 3 หมายถึง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมอื่น ๆ ขององค์กรที่ไม่รวมอยู่ใน Scope 1 และ Scope 2
เช่น การขนส่งสินค้า การขนส่งพนักงาน การกำจัดของเสีย
2. Carbon Footprint of Product หรือ CFP
หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่ง การใช้งาน ไปจนถึงการกำจัดซากผลิตภัณฑ์หลังหมดอายุการใช้งาน โดยปกติแล้ว ปริมาณ Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์และวิธีการผลิต ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น เสื้อผ้าจากผ้าฝ้าย มักจะมี Carbon Footprint น้อยกว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบสังเคราะห์อย่างเสื้อผ้าจากพลาสติก หรือในส่วนของกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์โดยจะถูกนำมาใช้ผ่านการรับแสงจากแผงโซล่าเซลล์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในกระบวนการผลิต จะมีปริมาณ Carbon Footprint น้อยกว่าผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตโดยใช้พลังงานฟอสซิล(ถ่านหิน)
ประโยชน์ของการทำ Carbon Footprint มีอะไรบ้าง?
1.องค์กรทราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่องค์กรก่อกำเนิด รวมถึงการวัด Carbon Footprint ช่วยให้องค์กรทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร ทำให้องค์กรสามารถระบุแหล่งที่มาของการเกิดก๊าซเรือนกระจกและหาวิธีจัดการกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2.ข้อมูล Carbon Footprint สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจกำหนดแผน แนวทางการจัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพ ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดต้นทุนในด้านพลังงาน ทรัพยากร และทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน
3.ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ โดยการส่งเสริมการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์
4.ประโยชน์ทางการตลาด ผู้บริโภคเองเริ่มหันมาให้สำคัญต่อสินค้าและบริการที่มีการคำนวณ Carbon Footprint ที่น้อย การประกาศถึงการลด Carbon Footprint สามารถทำให้ตลาดเป็นที่น่าสนใจและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
ความสำคัญของ Carbon Footprint ต่อองค์กร
องค์กรเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำ Carbon Footprint เพื่อตอบสนองความต้องการและความพร้อมต่อการเข้าสู่ตลาดคาร์บอนเครดิต เพื่อการแข่งขันทางการค้าในอนาคต โดยอนาคต Carbon Footprint จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทั้งยังช่วยให้องค์กรเห็นถึงภาพรวมของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กรซึ่งจะช่วยในการระบุแหล่งที่มาหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนในด้านการใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากรและการใช้วัสดุ เป็นต้น
หากมีข้อสงสัยเรื่อง Carbon Footprint สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด เรายินดีให้บริการ ให้คำปรึกษาเรื่อง Carbon Footprint แล้วถ้าใช้บริการกับเรา ยังช่วยลดการปล่อย Carbon ได้อีกด้วยนะครับ
โทร. (+66) 2-026-6547
Email: sscoil002@gmail.com