วัตถุอันตราย คืออะไร? วัตถุอันตราย คือ สารเคมีหรือวัตถุที่มีคุณสมบัติทางเคมีหรือทางกายภาพ ที่เป็นอันตรายเมื่อสัมผัสกับสารนั้นซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ต่อทรัพย์สินและต่อสิ่งแวดล้อม ในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 “วัตถุอันตราย” หมายถึงวัตถุดังต่อไปนี้ ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิดได้ คือ สารเคมีที่อาจก่อให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ โดยแบ่งออกเป็น 6 ประเภทย่อย ได้แก่ ประเภท 1.1 วัตถุที่อาจก่อให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงและเฉียบพลันทั้งหมด ประเภท 1.2 วัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายโดยการกระจายของสะเก็ดระเบิดแต่มิใช่โดยการระเบิดอย่างรุนแรงและเฉียบพลันทั้งหมด ประเภท 1.3 วัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดเล็กน้อยเมื่อเกิดอัคคีภัยหรือสัมผัสถูกแหล่งความร้อนอื่นๆ ประเภท 1.4 วัตถุที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนักแต่อาจเกิดการปะทุในระหว่างการขนส่งได้ ความเสียหายจะอยู่เฉพาะภายในบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อเท่านั้น ประเภท 1.5 วัตถุซึ่งไม่ไว้ต่อการระเบิด แต่เมื่อเกิดการลุกไหม้อาจทำให้เกิดการระเบิดได้ ทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับประเภท 1.1 เช่น ดินปืนกระสุนปืน ไดนาไมท์ แอมโมเนีย ไตโครเมท ประเภท 1.6 วัตถุซึ่งไม่ไวไฟหรือเฉื่อยมากต่อการระเบิดและไม่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรง ประเภทที่ 2 ก๊าซ คือ สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ […]
Category Archives: Uncategorized
ธุรกิจสีเขียว (Green Business) คืออะไร? ธุรกิจสีเขียว (Green Business) คือ การบริหารทรัพยากรให้ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่ามากที่สุด เคียงคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างโอกาสทางธุรกิจแนวใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของโลก ซึ่งการดำเนินธุรกิจที่ดีต้องมีภาพพจน์ที่เป็นมิตรต่อสังคม ชุมชน หรือท้องถิ่น โดย Green Business ให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจ 3 ด้าน คือ People คือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียรวมถึงประชาชน บุคคลทั่วไป Planet คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม สภาวะทางอากาศ และการเปลี่ยนแปลงต่อธรรมชาติของโลก Profit คือ ผลตอบแทนทางธุรกิจที่เกิดจากการประกอบกิจการที่ปรารถนาให้ธุรกิจประสบ การทำให้ธุรกิจในปัจจุบันให้เข้าสู่ ธุรกิจสีเขียว (Green Business) จะต้องคํานึงถึงเรื่องใดบ้าง ? 1. การลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง การลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง คือ การลดการใช้ทรัพยากรต่างๆภายในองค์กร โดยการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่ากับราคาให้มากที่สุด เช่น การลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสารใบรูปแบบกระดาษ โดยใช้การเก็บเอกสารในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น เครื่องปรับอากาศ พัดลม อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ควรมีมาตรการการลดการใช้ทรัพยากรไฟฟ้า มาตรการการประหยัดไฟฟ้า กำหนดช่วงเวลาในการเปิด-ปิด […]
ของเสียอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทุกๆวัน ถ้าทางผู้ก่อกำเนิด ไม่สามารถจัดการได้อย่างถูกวิธี นำไปทิ้งโดยที่ไม่รับอนุญาต จะเกิดผลเสียตามมาอย่างกว้างขวางไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ I. การรับกำจัดของเสีย อย่างไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น อาการแบบเฉียบพลัน (Acute Toxicity), อาการเรื้อรัง (Chronic Toxicity), โรงมะเร็ง (Carcinogenicity) หรือแม้กระทั่งความเป็นพิษต่อพันธุกรรม (Genetic Toxicity) II. การรับกำจัดของเสีย อย่างไม่ถูกต้อง ทำลายสภาพจิตใจ กลิ่นเหม็นจากกากของเสีย กากตะกอนน้ำมัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจ ทำให้มีความเครียดสูง อ่อนเพลีย เซื่องซึม ขาดความกระตือรือร้น มีความรู้สึก สับสัน เป็นต้น III. การรับกำจัดของเสียอย่างไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบต่อด้านสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้ประชาการ หรือธุรกิจในบริเวณนั้นย้ายออกจากพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจขนาดเล็ก และ ทำให้ประชาชนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการ รับกำจัดของเสียอุตสาหกรรม และนำมาซึ่งความขาดความน่าเชื่อถือในระบบการจัดการของเสีย กากอุตสาหกรรม หรืออาจจะทำให้ที่ดินในบริเวณนั้นเสียมูลค่า IV. การรับกำจัดของเสียอย่างไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์ สารพิษจะไปส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืช […]
การรับกำจัดของเสียไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร? สารพิษจากกากของเสียอุตสาหกรรม หากการรับกำจัดของเสียไม่ถูกต้อง จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์อย่างมากมาย ซึ่งสามารถสรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้ ผลกระทบต่อแหล่งน้ำผิวดิน เนื่องจากแหล่งน้ำผิวดินมักจะเป็นแหล่งรองรับน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรม ซึ่งถึงแม้ว่าจะผ่านกระกวนการ รับกำจัด บำบัดของเสียแล้ว หากทำอย่างไม่ถูกต้องก็จะเกิดมลพิษ สารตกค้างหลงเหลืออยู่ ซึ่งการปนเปื้อนของสารพิษ ของเสียจะส่งผลต่อสุขภาพอนามัยในระยะยาวได้ ผลกระทบต่อแหล่งน้ำใต้ดิน เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ดินจะสามารถดูดซับสารมลพิษที่ปนเปื้อนมากับน้ำได้ดี ทำให้สารพิษสะสมอยู่ในดินมากขึ้น และส่งผลไปถึงน้ำใต้ดิน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชบริเวณนั้น ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดกฎหมายใหม่ โดยที่โรงงานอุตสาหกรรมทุกชนิดต้องทำการขุดบ่อ และทำการตรวจ น้ำใต้ดิน ว่ามีการปนเปื้อนของสารอันตรายหรือไม่ ผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ ซึ่งมลพิษที่ระบายออกสู่อากาศถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือสารมลพิษที่เป็นอนุภาคเช่นฝุ่นละออง และ สารมลพิษที่เป็นก๊าซ เช่น กลิ่นจากการระบายก๊าซเสียออกจากปล่องควัน, กลิ่นจากบ่อบำบัดน้ำเสีย มลพิษทางอากาศทำให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งต่างๆ ได้มากมายนอกเหนือจากสุขภาพอนามัยของมนุษย์แล้ว ยังเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ ทำให้วัสดุเสียหาย เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา การจัดการกากอุตสาหกรรม กำจัดของเสีย กำจัดน้ำมัน ให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้น ถือเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งของผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรม (Waste Generator, WG) ผู้ขนส่งกากอุตสาหกรรม (Waste Transporter, WT) และผู้รับบำบัดและกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste […]
หลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) คืออะไร? หลักการจัดการของเสีย แบบ 3Rs เป็นหลักการที่คิดค้นขึ้นเพื่อลดปริมาณของเสีย ลดปริมาณก่อกำเนิด ตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างกระบวนการจนไปถึงปลายทาง ซึ่งประกอบไปด้วย Reduce คือ การลดของเสียของโรงงานอุตสาหกรรม ลดการใช้ของสิ้นเปลือง หรือ ใช้ของให้ประหยัดมากที่สุด เพื่อลดปริมาณของเสียที่จะเกิดขึ้น ไม่ก่อให้เกิดตั้งแต่เริ่ม Reuse คือ การนำของเสียที่เกิดขึ้น นำกลับไปใช้ซ้ำ โดยไม่ได้ผ่านกระบวนการเปลี่ยนสภาพ ทำให้ลดการก่อเกิดของขยะประเภทต่างๆ Recycle คือ การนำของเสียไปเปลี่ยนสภาพ ผ่านกระบวนการต่างๆ และกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ด้วยวิธีอื่นๆ กากขั้นสุดท้ายที่ไม่สามารถใช้ได้จากกระบวนการ 3Rs แล้ว ก็จะถูกส่งไปบำบัด (Treatment) และ กำจัดของเสีย (Disposal) อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่การที่โรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสียได้อาศัยหลักการ 3Rs แล้ว ของเสียที่เกิดขึ้น จะมีปริมาณลดลงมาก ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายต่างๆในการบริหารจัดการของเสีย ลดลง ลดต้นทุนการผลิต ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดข้อร้องเรียนและได้รับการยอมรับจากชุมชนโดยรอบ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน วิธีการจัดการกากอุตสาหกรรม […]
กากอุตสาหกรรมหรือสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วคืออะไร? กากอุตสาหกรรมหรือสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว คือ ของเสียหรือสิ่งที่ไม่ใช้แล้ว ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ตั้งแต่กระบวนการรับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ การบำบัดมลพิษ การซ่อมบำรุงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ รวมถึงการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างหรือจากการก่อสร้างอาคารภายในบริเวณโรงงาน รวมทั้งกากตะกอนจากกระบวนการผลิต ทั้งนี้รวมถึงของเสียอันตรายที่เกิดจากอาคารสำนักงานและที่พักคนงานที่อยู่ภายในบริเวณโรงงาน โดยจำแนกออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ กากของเสียอุตสาหกรรมอันตราย (Hazardous Waste) และ กากอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย (Non-Hazardous Waste) กากของเสียอุตสาหกรรมอันตราย (Hazardous Waste) คืออะไร? กากของเสียอุตสาหกรรมอันตราย (Hazardous Waste) คือ ของเสียที่ไม่ใช้แล้วซึ่งมีองค์ประกอบของสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือ สารเคมีอันตรายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ต้องมีการกำจัดอย่างถูกวิธีและมีการแจ้งรายงานต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น สารไวไฟ เช่น น้ำมันเตา กากตะกอนน้ำมัน น้ำมันปนเปื้อนและน้ำมันประเภทต่างๆ สารที่เกิดปฏิกริยาได้ง่ายหรือสารออกซิไดซ์ เช่น กากปูนขาว ของเสียที่เป็นตัวทำละลายอินทรีย์ สารกัดกร่อน เช่น กรดเกลือ น้ำมันปนเปื้อนกรด โซดาไฟ และกรดจำพวกต่างๆ ที่เสื่อมสภาพ สารพิษ เช่น สีย้อมที่มีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบ […]
กากของเสียอุตสาหกรรมคืออะไร มีประเภทไหนบ้าง กากของเสียอุตสาหกรรม หมายถึง ของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต รวมถึงวัตถุดิบเสื่อมสภาพ ผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพ ภาชนะบรรจุของปนเปื้อน และ ของเหลือใช้ ซึ่งในทุกวันนี้ ประเทศไทยเรามีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องประมาณ 70,000 กว่าแห่ง ซึ่งในแต่ละปีนั้น จะมีกากของเสียอุตสาหกรรมมากถึง 37ล้านตัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ กากของเสียอุตสาหกรรมอันตราย (Hazardous waste) หมายถึง ของเสียที่ไม่ใช้แล้วที่มีองค์ประกอบของสารที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือ สารเคมีอันตราย ได้แก่ สารไวไฟ น้ำมัน ประเภทต่างๆ (Ignitable substances) เช่น ของเสียที่มีน้ำมันเตา กากน้ำมัน น้ำมันปนเปื้อน น้ำมันใช้แล้ว น้ำมันเครื่องใช้แล้ว ซึ่งทางบริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด ได้ให้บริการ รับกำจัดของเสีย รับกำจัดน้ำมัน ในประเภทนี้ครับ สารกัดกร่อน (Corrosive Substances) เช่น กรดใช้แล้ว กรดเสื่อมสภาพ […]
หนังสือสัญญา กอ.1 และ เอกสารแสดงการจัดการ (Manifest Form) แบบ กอ.2 คืออะไร หนังสือสัญญา กอ.1 คืออะไร? กอ.1 คือ หนังสือยินยอมระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการบำบัด/กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อประกันความรับผิด -Liability เมื่อมีการขนสิ่งปฏิกูลและกำจัดสิ่งปฏิกูล ผู้จัดหนังสือสัญญา กอ.1 : ผู้ก่อกำเนิดของเสีย (Waste Generator) / ผู้รับกำจัด (Waste Processor) ระยะเวลาที่ระบุในเอกสาร กอ.1: สอดคล้องตามแบบคำขออนุญาตนำกากของเสียออกนอกบริเวณโรงงาน (สก.2) ซึ่งดำเนินการขออนุญาตตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ข้อตกลงนี้ทำขึ้น 3 ฉบับ : ทั้ง 2 ฝ่ายได้อ่านและรับทราบข้อตกลงร่วมกัน จึงลงนามลายมือชื่อ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี) โดยแต่ละคู่ฉบับจะนำส่งให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ชุดที่ 1 ผู้ก่อกำเนิดของเสีย (Waste Generator) ชุดที่ 2 ผู้รับกำจัด (Waste Processor) ชุดที่ 3 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตัวอย่างเอกสาร กอ.1
แนวทางการจัดการ 7ส. คืออะไรบ้าง? โดยทั่วไปแล้ว จะมีเครื่องมือในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น หลักการ 5ส./7ส., มาตรฐาน ISO14001:2015 หรือไม่ว่าจะเป็นการประยุคใช้หลักการของ Lean operation สำหรับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการเลือกใช้เครื่องมือนั้น จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับองค์กร ความรู้ความเข้าใจ งบประมาณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการบริหารจัดการของเสียโดยหลัก 5ส. และ 7ส. โดยมีรายละเอียดดังนี้ ส1: สะสาง คือ การสะสางของที่ไม่ใช้งาน หรือเกินความจำเป็นออก เพื่อลดปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ลดผลกระทบ ลดขยะต่อสิ่งแวดล้อม ส2: สะดวก คือ การเก็บของให้เป็นระเบียบ สะดวกต่อการใช้งาน ไม่วางเกะกะ สามารถหยิบจับได้สะดวก ส3: สะอาด คือ การรักษาความสะอาด ภายในบริเวณที่ทำงานให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน ส4: สุขลักษณะ คือ การรักษามาตรฐานและปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องให้เป็นสุขลักษณะ ส5: สร้างนิสัย คือ เมื่อได้กระทำตาม 4ส ที่กล่าวมาแล้ว ต้องมีวินัย ทำต่อเนื่องจนเป็นลักษณะนิสัยประจำตัว ส6: สวยงาม คือ การรักษาสภาพแวดล้อมบริเวณที่ทำงานให้สวยงาม […]
i-Industry คืออะไร? i-Industry คือ ระบบทะเบียนลูกค้ากระทรวงอุตสาหกรรมแบบ One Stop Service เพื่อลดขั้นตอน ลดความยุ่งยาก ลดปริมาณเอกสาร ขั้นตอนการสมัครสมาชิก ระบบ i-Industry 1 . เข้าไปยังลิงก์สำหรับการสมัครสมาชิก (https://i.industry.go.th.) และเลือกเมนู สมัครสมาชิก 2.ระบบจะแสดงหน้าหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และความยินยอม โดยผู้สมัครสมาชิกจะต้องอ่านให้ครบถ้วน ก่อนการสมัครสมาชิก เมื่ออ่านรายละเอียดครบตามที่ได้ระบุให้ใส่เครื่องหมายถูกต้องหน้าข้อความ “ข้าพเจ้าได้อ่านและตกลงยินยอมตามรายละเอียดข้อตกลงและความยินยอมข้างต้น” จากนั้นจึงกด “ยืนยัน” 3.เมื่อทำการกดยืนยันเรียบร้อย ให้เลือกการยินยอม/ไม่ยินยอม ในการเก็บรวบรวม ใช้และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ประกอบการควรอ่านให้ครบทุกข้อ จากนั้นกดปุ่ม”ตกลง” 4.กรอกข้อมูลในหน้ายืนยันการสมัครสมาชิก ระบบ i-Industry เลขประจำตัวประชาชน (*จำเป็นต้องกรอก) ชื่อ-นามสกุล (*จำเป็นต้องกรอก) วัน/เดือน/ปี เกิด (*จำเป็นต้องกรอก) เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ไลน์ไอดี 5.กำหนดรหัสผ่าน กรอกให้ตรงกันทั้ง 2 ช่อง ใช้อักขระตั้งแต่ 8 ตัวขึ้นไป ประกอบด้วย ตัวอักษร […]
- 1
- 2