วัตถุอันตราย คืออะไร?
วัตถุอันตราย คือ สารเคมีหรือวัตถุที่มีคุณสมบัติทางเคมีหรือทางกายภาพ ที่เป็นอันตรายเมื่อสัมผัสกับสารนั้นซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ต่อทรัพย์สินและต่อสิ่งแวดล้อม ในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 “วัตถุอันตราย” หมายถึงวัตถุดังต่อไปนี้
ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิดได้ คือ สารเคมีที่อาจก่อให้เกิดการระเบิดขึ้นได้
โดยแบ่งออกเป็น 6 ประเภทย่อย ได้แก่
ประเภท 1.1 วัตถุที่อาจก่อให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงและเฉียบพลันทั้งหมด
ประเภท 1.2 วัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายโดยการกระจายของสะเก็ดระเบิดแต่มิใช่โดยการระเบิดอย่างรุนแรงและเฉียบพลันทั้งหมด
ประเภท 1.3 วัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดเล็กน้อยเมื่อเกิดอัคคีภัยหรือสัมผัสถูกแหล่งความร้อนอื่นๆ
ประเภท 1.4 วัตถุที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนักแต่อาจเกิดการปะทุในระหว่างการขนส่งได้ ความเสียหายจะอยู่เฉพาะภายในบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อเท่านั้น
ประเภท 1.5 วัตถุซึ่งไม่ไว้ต่อการระเบิด แต่เมื่อเกิดการลุกไหม้อาจทำให้เกิดการระเบิดได้ ทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับประเภท 1.1 เช่น ดินปืนกระสุนปืน ไดนาไมท์ แอมโมเนีย ไตโครเมท
ประเภท 1.6 วัตถุซึ่งไม่ไวไฟหรือเฉื่อยมากต่อการระเบิดและไม่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรง
ประเภทที่ 2 ก๊าซ คือ สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและปริมาตรไม่คงที่
แบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่
ประเภท 2.1 ก๊าซไวไฟ เป็นก๊าซที่ติดไฟได้ง่าย เมื่อสัมผัสถูกความร้อน เปลวไฟ มีจุดวาบไฟต่ำกว่า37.8 เช่น อะเซธิลีน อีเทนไซโคล์บิวเทน เอทธิลอามีน มีเทน บิวเทน เป็นต้น
ประเภท 2.2 ก๊าซไวไฟ ไม่เป็นพิษ อัดภายใต้ความดันอาจเกิดอันตรายจากการระเบิดเมื่อถูกกระทบกระแทกหรือความร้อน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน ออกซิเจน
ประเภท 2.3 ก๊าซพิษ เป็นสารกัดกร่อนหรือเป็นพิษต่อมนุษย์ เช่น คลอรีน แอมโมเนีย โบรอนไตรฟูลออกไรด์ คาร์บอนฟูลออกไรด์ และเมทธิลโบรไมต์
ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ คือ ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 37.8
ซึ่งสามารถติดไฟได้ง่าย เช่น เฮกเซน, คลอโรบิวเทน, ไซโคลเฮกเซน, เบนซิน, เอทธิลแอลกอฮอล
ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ หรือวัตถุลุกไหม้ได้เอง คือ วัตถุที่เมื่อสัมผัสกับวัสดุหรือน้ำจะเกิดปฏิกิริยาลุกไหม้
แบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่
ประเภท 4.1 ของแข็งไวไฟง่ายต่อการติดไฟ เช่น ไม่ขีดไฟ การบูร กำมะถัน ฟอสฟอรัส เฮกซะเมท ทิลลีนเตตรามีน
ประเภท 4.2 วัตถุที่ทำให้เกิดการลุกไหม้ได้เอง เช่น อะลูมิเนียม อัลคิลเฮไลด์คาร์บอน ไดเมทธิลซิงค์ ฟอสฟอรัสขาว ไนโตรเซลูไลส โซเดียมซัลไฟต์ โปแตสเซียมไฮโดรซัลไฟท์
ประเภท 4.3 วัตถุอันตรายเมื่อเปียกซื้นอาจเกิดก๊าซไวไฟขึ้นได้ เช่น อัลคิลเมททอล ผงอะลูมิเนียมอะลูมิเนียมคาร์ไบด์ แบเรียม แคลเซียม แคลเซียมซิลิไฟต์
ประเภทที่ 5 วัตถุออกซิไดซ์ และออกแกนิคเปอร์ออกไซด์
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่
ประเภท 5.1 วัตถุออกซิไดซ์ เช่น อะลูมิเนียมไนเตรท แอมโมเนียไนเตรท แบเรียมคลอเรต โบรมินเพน ตะฟูลออกไรด์ ไฮโครเจนเปอร์ออกไซด์
ประเภท 5.2 ออแกนิคเปอร์ออกไซด์ เช่น อะเซทิล อะซิโตนเปอร์ออกไซด์ อะซิทิลเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์
ประเภทที่ 6 วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่
ประเภท 6.1 วัตถุมีพิษที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เจ็บป่วยรุนแรงเมื่อสัมผัสถูก เช่น อาร์เซนิกไตรออกไซด์ ไซยาไนต์ คลอโรไนไตร เบนซิน ไดโบรโมมีเทน ไดคลอโรมีเทน
ประเภท 6.2 วัตถุติดเชื้อ วัตถุที่มีเชื้อจุลินทรีย์หรือพิษของจุลินทรีย์ อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในมนุษย์และสัตว์
ประเภทที่ 7 วัตถุกัมมันตรังสี เช่น โคบอลต์ 60, พูลโตเนียม 238, ยูเรเนียม 233, เรเดียม ยูเรเนียม
ประเภทที่ 8 วัตถุกัดกร่อนมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อและวัสดุ เช่น ตลอซัลฟูริก, กรดฟอสฟอริก, กรดไนตริก, โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์โซเดียมโฮดรอกไซด์
ประเภทที่ 9 วัตถุอันตรายอื่น ๆ เช่น แอสเบสตรส, ซิงค์ไฮโดรซัฟไฟท์, พีซีบี, กากของเสียอันตรายอื่น ๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์
หากท่านมีวัตถุอันตราย ต้องการกำจัด บำบัดอย่างถูกวิธี สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด เรายินดีให้บริการ ให้คำปรึกษาเรื่องการรับกำจัดของเสีย กากอุตสาหกรรมทุกชนิด
โทร. (+66) 2-026-6547
Email: sscoil002@gmail.com