ESG คืออะไร?
Environment, Social, Governance: ESG คือ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงถึง 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.ด้านสิ่งแวดล้อม 2.สังคม และ 3.ธรรมาภิบาล เรียกโดยรวมว่า ESG โดยการประกอบกิจการหรือการลงทุนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจแนวคิด ESG เพื่อให้การประกอบกิจการสามารถแข่งขันทางการตลาดและมีศักยภาพเพื่อการเตอบโตทางธุรกิจในระยะยาว
“E” Environmental สิ่งแวดล้อม
การดำเนินธุรกิจซึ่งส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการดำเนินธุรกิจต้องมีการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในการดำเนินธุรกิจจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมสามารถประเมินได้จากตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากธุรกิจ การก่อให้เกิดของเสียภายในกิจกรรมต่างๆภายในองค์กร การปล่อยมลพิษ การใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
“S” Social สังคม
ประเด็นด้านสังคมหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชุมชนท้องถิ่น โดยประเด็นด้านสังคมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยการประกอบกิจการต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการดำเนินกิจการที่ราบรื่น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากลูกค้าของธุรกิจ ซึ่งตัวชี้วัดด้านสังคมอาจประเมินได้จากความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม การให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชน การให้ความสำคัญกับแรงงาน สร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกกลุ่ม เช่น การให้โอกาสผู้พิการได้ทำงาน ความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงาน เป็นต้น
“G” Governance ธรรมาภิบาล
การดำเนินกิจการหรือการประกอบธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลต้องแสดงถึงความโปร่งใสในการดำเนินงานของกิจการรวมถึงมีการกำหนดนโยบาลที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เช่น การกำหนดนโยบายการต่อต้านการทุจริตและการตรวจสอบเพื่อผลประโยชน์ที่เป็นธรรมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของธุรกิจทั้งหมด และนโยบายในการแบ่งผลตอบแทน การจัดการด้านภาษี โครงสร้างผู้บริหาร ความแตกต่างหลากหลายของผู้บริหารและคณะกรรมการของบริษัท ความปลอดภัยทางไซเบอร์ การป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนกลาง การเปิดเผยนโยบายและขั้นตอนอย่างตรงไปตรงมา การดำเนินการเพื่อลดการทุจริตในองค์กร โดยทุกขั้นตอนการดำเนินงานต้องโปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ เป็นต้น
ESG สำคัญอย่างไรกับการดำเนินธุรกิจ
- การสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ : การส่งเสริมให้ธุรกิจพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นฐานการดำเนินงาน รวมถึงการดูแลสังคมภายในองค์กรและชุมชนที่อยู่บริเวณโดยรอบกิจการ เพื่อการบริหารจัดการที่ดี
- การสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ : การให้ความสำคัญกับ ESG ทำให้ธุรกิจมีโอกาสสร้างมูลค่าที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยนักลงทุนและลูกค้ามักให้ความสำคัญกับธุรกิจที่มีความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนจะสร้างความไว้วางใจและสร้างความหน้าเชื่อถือให้กับลูกค้า ทำให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จในระยะยาว
- การลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ : การลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจโดยมีการกำหนดนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม รวมถึงการลดความเสี่ยงในด้านกฎหมายและภาษี
- การสร้างจุดยืนทางการตลาด : การสร้างจุดยืนที่ดีให้กับธุรกิจในทางการตลาด นักลงทุนและลูกค้ามักมองหาธุรกิจที่มีความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม มักพิจารณาจุดยืนเมื่อต้องการทำธุรกิจกับบริษัท ซึ่งการให้ความสำคัญกับ ESG ทำให้ธุรกิจมีโอกาสสร้างจุดยืนและโอการทางการลงทุน
- การส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน : การยึดหลัก ESG ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจมีความมั่นคงและยั่งยืน เพื่อการขยายขอบข่ายของธุรกิจภายในประเทศ และตอบสนองความต้องการของตลาดโลก ด้านเทรนด์ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคม
หากต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ESG สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด เรายินดีให้บริการ ให้คำปรึกษาเรื่องการดำเนินการธุรกิจอย่างยั่งยืน
โทร. (+66) 2-026-6547
Email: sscoil002@gmail.com